เมนู

4. อุปสัมปทาสูตร


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท


[33] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไร
หนอแล พึงให้กุลบุตรอุปสมบท.
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการแล พึง
ให้กุลบุตรอุปสมบท 10 ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มี
ปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย 1 เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงไว้
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อม
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง 1 ปาติโมกข์เป็นอุเทศอันภิกษุนั้น
จำดีแล้ว จำแนกดีแล้ว ให้เป็นไปดีแล้ว โดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดย
สูตรโดยอนุพยัญชนะ 1 ภิกษุนั้นเป็นผู้สามารถเพื่ออุปัฏฐากเองหรือเพื่อ
ให้ผู้อื่นอุปัฏฐากซึ่งสัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ 1 เป็นผู้สามารถเพื่อระงับเอง
หรือให้ผู้อื่นระงับความไม่ยินดียิ่ง (ของสัทธิวิหาริก) 1 เป็นผู้สามารถ
เพื่อบรรเทาความรำคาญอันเกิดขึ้นแล้วได้โดยธรรม 1 เป็นผู้สามารถ
เปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม 1 เป็นผู้สามารถเพื่อให้
สมาทานในอธิศีล 1 เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานให้อธิจิต 1 เป็นผู้
สามารถเพื่อให้สมาทานในอธิปัญญา 1 ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรม 10 ประการนี้เลย พึงให้กุลบุตรอุปสมบท.
จนอุปสัมปทาสูตรที่ 4

อรรถกถาอุปสัมปทาสูตรที่ 4


อุปสัมปทาสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนภิรตึ ได้แก่ ความเป็นผู้กระสัน. บทว่า วูปกาเสตุํ
ได้แก่ กำจัด. บทว่า อธิสีเล ได้แก่ ศีลสูงสุด. แม้ในจิตและปัญญาก็นัยนี้
เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอุปสัมปทาสูตรที่ 4

5. นิสสยสูตร1


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการถึงให้นิสัย


[34] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไร
หนอแล พึงให้นิสัย. ฯลฯ
จบนิสสยสูตรที่ 5

6. สามเณรสูตร2


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการ พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก


อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล
พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการแล พึง
ให้สามเณรอุปัฏฐาก 10 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มี
ปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

1-2. สูตรที่ 5-6 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.